ปัจจุบันด้วยภาระการงานที่ถาโถมทำให้เราต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจเกินขีดจำกัดอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่พอรู้ตัวอีกทีโลกแห่งการทำงานก็สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของเราไปแล้ว โดยเฉพาะกับผู้หญิงวัยทำงานหรือ Working Woman ที่มีพฤติกรรมนอนดึก ทำงานหนักไม่เป็นเวลา และหากทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้
โรคมะเร็งเต้านมได้กลายมาเป็นมะเร็งอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยไปมากที่สุด และมีแนวโน้มว่าตัวเลขจะทะยานสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปีละประมาณ 12% ซึ่งในปี 2566 พบผู้ป่วยรายใหม่ 17,742 คน หรือวันละ 49 คน และพบการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมหรือการแพร่กระจายของโรคค่อนข้างสูงกว่ามะเร็งชนิดอื่น เนื่องจากในระยะแรกของการเป็นโรคมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่ปรากฏอาการผิดปกติให้เห็น เมื่ออยู่ในระยะที่ก้อนมะเร็งมีการอักเสบ และลุกลามไปทั่วแล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก (ขอบคุณข้อมูล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2567)
มะเร็งเต้านมมักพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และผู้หญิงที่สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกาย แต่ก็สามารถเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ แม้แต่ผู้หญิงที่อายุเพียง 18 ปี ดังนั้น เราต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติของเต้านมให้ดี สามารถสังเกตได้ ดังนี้
– คลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรือใต้รักแร้
– ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป
– ผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม หรือ บวมหนา เหมือนเปลือกส้ม
– มีน้ำเหลือง หรือ ของเหลวไหลออกมาจากหัวนม
– อาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม หรือ ผิวหนังของเต้านมอักเสบ
– มีผื่นคันบริเวณเต้านมรักษาแล้วไม่หายหากพบความเปลี่ยนแปลงของเต้านมแล้วอย่าเพิ่งตกใจ แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจยืนยันให้แน่ใจอีกครั้ง
หมั่นเช็กมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ก่อนโรคร้ายจะเซย์ฮัลโหล
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำสม่ำเสมอ มีด้วยกัน 3 วิธีง่าย ๆ
- การคลำในแนวขึ้นลง เริ่มคลำจากใต้รักแร้ หรือตำแหน่งใต้แขนจนถึงฐานของเต้านม แล้วขยับนิ้วทั้งสามคลำในแนวขึ้นลง และสลับกันไปเรื่อย ๆ ให้ทั่วทั้งเต้านม
- การคลำแบบแนวก้นหอย เริ่มคลำจากส่วนบนของเต้านมบริเวณลานหัวนมไปตามแนวก้นหอย จนกระทั่งถึงฐานเต้านม ครอบคลุมถึงบริเวณรักแร้ และไหปลาร้า
- การคลำแบบแนวรูปลิ่ม เริ่มคลำจากส่วนบนของเต้านมบริเวณลานหัวนมจนถึงฐานแล้วกลับขึ้นสู่ยอด อย่างนี้เรื่อย ๆ ให้ทั่วทั้งเต้านม ครอบคลุมถึงบริเวณรักแร้ และไหปลาร้า
โดยช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง คือ หลังจากหมดประจำเดือน ประมาณ 7 – 10 วันเพราะเป็นระยะที่เต้านมไม่บวมและนิ่ม ซึ่งจะทำให้ตรวจได้ง่ายโรคร้ายไม่เข้าใครออกใคร สามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัยไม่ว่าจะจาก เพศ อายุ กรรมพันธุ์ เชื้อชาติ สภาพแวดล้อม และพฤติกรรมการใช้ชีวิต ล้วนมีความเสี่ยงที่อาจทำให้คุณนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ ดังนั้น ต้องหมั่นดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายทานอาหารที่มีประโยชน์ และสำคัญเลยคือตรวจสุขภาพร่างกายอยู่เป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดีและเตรียมความพร้อมรับมือโรคร้ายแรงอย่างมือโปร
ขอแนะนำ AIA Care for Cancer หยุดงานไปรักษาโรคมะเร็งแบบไม่ต้องกลัวขาดรายได้
ถึงป่วยโรคร้าย ก็ตกใจแค่แป๊บเดียว จ่ายเบี้ยฯ แค่วันละ 1 บาท*
– สมัคร 1 ได้ถึง 2 ความคุ้มครอง (คุ้มครองทั้งชีวิต 100,000 บาท1 และเงินชดเชยรายได้สูงสุด 1,000 วัน ต่อรายชีวิต2
– ให้ความคุ้มครอง OPD (โรคมะเร็งทุกระยะ) เป็นตัวช่วยในเรื่องค่าใช้จ่ายหากตรวจเจอมะเร็ง เพราะหยุดงานก็ยังมีรายได้3
– เบี้ยประกันภัย สบายกระเป๋าสนใจทำประกัน AIA Care for Cancer กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ