อายุเท่านี้ ควรนอนกี่ชั่วโมงถึงจะพอดี?

ในปัจจุบัน คนวัยทำงานจำนวนมากกำลังเผชิญกับปัญหาการนอนหลับ ซึ่งอาจส่งผลต่อทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ การนอนไม่พอหรือนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะมันอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า สุขภาพของคุณกำลังต้องการการเยียวยาและฟื้นฟูอย่างจริงจัง

ปัญหาการนอนเป็นสัญญาณเตือนว่าสุขภาพต้องการฟื้นฟูมีอะไรบ้าง?

1. นอนไม่หลับ 

เกิดจากความผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจ เช่น ความเครียด อาการคือหลับยาก หลับไม่สนิท ส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้าและภูมิคุ้มกันลดลง ควรปรับพฤติกรรม เช่น เข้านอนตรงเวลา เลี่ยงการใช้มือถือก่อนนอน หรือใช้น้ำมันหอมระเหย หากไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

2. วงจรการหลับเสียสมดุล

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เช่น เกิดอาการเจ็ตแล็ก ควรให้ร่างกายได้พักผ่อนในที่สงบ อากาศเย็นสบาย และดื่มน้ำให้เพียงพอ

3. นอนกรน (Snoring)

เกิดจากทางเดินหายใจตีบแคบ แก้ไขด้วยการนอนตะแคง ใช้หมอนสูง หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ และควรลดน้ำหนัก

4. หยุดหายใจขณะนอนหลับ

ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรพบแพทย์และตรวจการนอนหลับ

5. ปัญหารบกวนการนอนของผู้หญิง

มักเกิดจากภาวะซึมเศร้า ฮอร์โมน หรือคู่นอนนอนกรน การนอนน้อยทำให้ฮอร์โมนผิดปกติและเสี่ยงโรคมะเร็ง ควรปรับเวลานอน เพิ่มการออกกำลังกาย และลดความเครียด

แล้วนอนเท่าไรถึงพอ? เวลานอนที่เหมาะสมของแต่ละคนแตกต่างกันตามวัยและความจำเป็นอื่น ๆ เช่น สภาพร่างกาย สภาพสิ่งแวดล้อม เช่น หากกำลังเจ็บป่วยร่างกายย่อมต้องการการนอนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ดังนั้นคำถามที่ว่า นอนเท่าไรถึงพอ ร่างกายของแต่ละคนจะตอบได้ดีที่สุดแล้วนอนเท่าไรถึงพอ? เวลานอนที่เหมาะสมของแต่ละคนแตกต่างกันตามวัยและความจำเป็นอื่น ๆ เช่น สภาพร่างกาย สภาพสิ่งแวดล้อม เช่น หากกำลังเจ็บป่วยร่างกายย่อมต้องการการนอนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ดังนั้นคำถามที่ว่า นอนเท่าไรถึงพอ ร่างกายของแต่ละคนจะตอบได้ดีที่สุด

ระยะเวลาในการนอนหลับที่เหมาะสม โดยแบ่งตามอายุ ดังนี้

• เด็กแรกเกิด (อายุ 0-3 เดือน) ควรนอน 14-17 ชั่วโมงต่อวัน

• เด็กทารก (อายุ 4-11เดือน) ควรนอน 12-15 ชั่วโมง

• เด็ก (อายุ 1-2 ปี) ควรนอน 11-14 ชั่วโมง

• วัยอนุบาล (3-5 ปี) ควรนอน 10-13 ชั่วโมง

• วัยประถม (6-13 ปี) ควรนอน 9-11 ชั่วโมง

• วัยมัธยม (14-17 ปี) ควรนอน 8-10 ชั่วโมง

• วัยรุ่น (18-25 ปี): ควรนอน 7-9 ชั่วโมง

• วัยทำงาน (26-64 ปี): ควรนอน 7-9 ชั่วโมง เท่ากับตอนวัยรุ่น• วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) ควรนอน 7-8 ชั่วโมง

สรุปคือการนอนหลับ 8 ชั่วโมงเป็นค่าเฉลี่ยทั่วไปจึงไม่จำเป็นต้องสร้างความกดดันให้ตัวเองว่า ต้องนอนถึง 8 ชั่วโมง ให้สังเกตความต้องการของร่างกายในขณะนั้นเป็นหลักและปรับการนอนให้มีความพอดี

การนอนหลับพักผ่อนอย่างมีคุณภาพและนอนหลับให้เพียงพอช่วยให้คุณมีสุขภาพดี นอกจากนี้คุณยังสามารถสะสมคะแนนจากการติดตามการนอนหลับได้อีกด้วยกับ AIA Vitality รับคะแนนจากการนอนหลับสูงสุด 1,830 คะแนน/ปีสมาชิก เพียงติดตามการนอนหลับด้วยนาฬิกาที่รองรับการสะสมคะแนนสนใจทำประกัน เอไอเอ กรอกแบบฟอร์มติดต่อกลับ ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ

ให้เราได้ดูแลคุณ

สำนักงานตัวแทนประกันชีวิต คุณเนตรทิพย์ อัครมโนไพศาล