โดยทั่วไป ช่วงชีวิตที่พบกับความท้าทายมากที่สุดของคนเรา มักจะอยู่ในช่วงอายุ 35-45 ปี เพราะเป็นช่วงที่กำลังก่อร่างสร้างตัว สะสมทรัพย์สินและความมั่งคั่งอยู่ แต่ในขณะเดียวกันก็มีภาระทางการเงินที่ต้องรับผิดชอบและแบกรับรอบด้าน ซึ่งความเสี่ยงที่น่ากลัวที่สุดสำหรับวัยนี้ คือ ปรากฏการณ์ “แก่ก่อนรวย” เนื่องจากอาจต้องเจอภาระค่าใช้จ่ายรอบด้าน ทั้งค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูครอบครัวตัวเอง เลี้ยงดูคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ อีกทั้งภาระหนี้สินที่ยังต้องผ่อนอยู่ ไม่ว่าจะผ่อนบ้าน ผ่อนรถ รวมถึงความจำเป็นที่ต้องเก็บเงินตามเป้าหมายส่วนตัว ในขณะที่การงานและรายได้เพิ่งเริ่มมั่นคงและเติบโต ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่อาจจะมีเงินไม่พอใช้จ่าย หรือมีเงินเก็บไม่พอกับเรื่องที่จำเป็นต้องใช้ หากไม่ได้วางแผนเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า
ดังนั้น ก่อนที่จะพาตัวเองเข้าสู่สภาวะแบบนี้ เราจึงควรเตรียมตัวรับมือและมองหาวิธีการจัดการกับภาระทางการเงินที่พร้อมจะถาโถมกันเข้ามาให้ดี ด้วย 4 แนวทางแนะนำ ดังนี้
1. บริหารและควบคุมค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับรายได้และฐานะ
ต้องมีวินัยในการใช้จ่าย ไม่ใช้จ่ายเกินตัว โดยอาจใช้วิธีทำงบการเงิน หรือทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อควบคุมการใช้จ่ายของตัวเองให้อยู่ในงบประมาณที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา
2. วางแผนเก็บออมเงินสำหรับเป็นเงินเกษียณของตัวเอง
ใช้เครื่องมือการออมหรือการลงทุนที่ช่วยสร้างวินัยการออม เช่น ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ RMF ที่มีเงื่อนไขบังคับให้เราต้องออมเงินหรือลงทุนในระยะยาว โดยต้องออมหรือลงทุนอย่างสม่ำเสมอทุกปี และไม่สามารถถอนเงินออกมาใช้ได้ระหว่างทาง ต้องรอจนกว่าจะเกษียณจึงจะได้รับเงินที่ออมหรือลงทุนไว้
เราขอแนะนำประกันชีวิตแบบบำนาญ AIA Annuity Fix ที่ให้คุณรับเงินบำนาญจำนวน 162.50% ของมูลค่าบำนาญตั้งต้น รวม 3,120,000 บาท* โดยสามารถเลือกรับเป็นรายงวด เป็นประจำทุกปี
3. วางแผนค่าใช้จ่ายของลูกให้ครอบคลุมจนสำเร็จการศึกษา
โดยการสำรวจค่าเล่าเรียน และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษาที่วางแผนจะส่งบุตรไปเรียน ตั้งแต่ปัจจุบัน จนจบระดับชั้นที่ต้องการ ว่ารวมแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งหมดเท่าไหร่ โดยสำหรับค่าเล่าเรียนในระดับชั้นสูง ๆ ที่ยังมีเวลาอีกหลายปีกว่าจะถึงเวลาต้องจ่าย อาจจะใช้วิธีการลงทุน หรือออมเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยเตรียมเงินให้เพียงพอกับค่าเล่าเรียนในอนาคตได้
เราจึงขอแนะนำประกันชีวิตควบการลงทุน AIA Smart Select (Unit Linked) ที่ให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนเบี้ยประกันภัยและความคุ้มครองไปได้ตามช่วงจังหวะของชีวิต และเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าจากการลงทุนในกองทุนรวม พร้อมทั้งได้รับความคุ้มครองชีวิตที่สูงกว่า สามารถปรับเพิ่ม หรือ ลดความคุ้มครอง รวมถึงสามารถหยุดพักชำระเบี้ยได้** รับโบนัสพิเศษสุงสุด 5% ของเบี้ยประกันภัย หากจ่ายเบี้ยต่อเนื่อง***
เพื่อให้คุณได้เตรียมแผนการเงินสำหรับการศึกษาของลูกในอนาคต แถมยังสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพแนบกับแบบประกันหลักเพื่อเพิ่มความอุ่นใจได้อีกด้วย
4. วางแผนทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง และประกันอุบัติเหตุ เพื่อโอนย้ายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
เราควรทำประกันชีวิตให้มีความคุ้มครอง หรือจำนวนเงินเอาประกันภัย เพียงพอกับ “ภาระทางการเงิน” ในชีวิตทั้งหมดที่เรามีอยู่ ได้แก่ “ภาระหนี้สินคงค้าง (หนี้บ้าน + หนี้รถ + หนี้สินอื่น ๆ) + ค่าเลี้ยงดูผู้อยู่ในอุปการะจนกว่าจะเลี้ยงดูตัวเองได้ (รวมไปถึงค่าเล่าเรียน และค่าประกันชีวิตบุตร ตั้งแต่ปัจจุบันจนเรียนจบ) + เงินที่ต้องการทิ้งไว้ให้ธุรกิจปรับตัว (สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจ) – มูลค่าเงินเก็บทั้งหมดที่เรามีอยู่” เพื่อให้แน่ใจว่า หากเราจากไปกะทันหัน อะไรต่าง ๆ ที่เราดูแลอยู่ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือธุรกิจ จะสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่สะดุดและไม่เดือดร้อนนั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้นทุกวันนี้สภาวะเงินเฟ้อยังส่งผลให้ค่ารักษาพยาบาลขยับเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ทำประกันสุขภาพ ดังนี้
- AIA Health Happy คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่าย ครอบคลุมถึง 62 โรคร้ายแรง/การรักษา**** สูงสุด 25 ล้านบาทต่อรอบปีกรมธรรม์
- AIA H&S Extra (New Standard) คุ้มครองครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ทั้งผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD)***** คุ้มค่า เพราะหากไม่เคลมมีเงินคืน
- AIA Multi-Pay CI โรคร้าย เจอ จ่าย หลายจบ เคลมโรคร้ายแรงได้สูงสุด 11 ครั้ง รวม 800% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย****** เคลมโรคร้ายแรงซ้ำบนโรคเดิมได้ หากป่วยเป็น 3 โรคร้ายแรงระดับรุนแรง******* โดยจะหักด้วยความคุ้มครองโรคร้ายแรงที่เคยจ่ายไปแล้ว (ถ้ามี)
- AIA CI Plus ประกันโรคร้ายแรง ที่คุ้มครองครอบคลุมถึง 44 โรคร้ายแรง/การรักษา ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เช่น โรคมะเร็งระยะลุกลาม กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
- AIA CI SuperCare แบบประกันหลักที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรงนานตลอดชีพ (หรือถึงอายุ 99 ปี) ที่คุ้มครองสูงสุดถึง 62 โรคร้ายแรง/การรักษา******** ค่าเบี้ยคงที่ ไม่เพิ่มตามอายุ เลือกจ่ายเบี้ย 10 ปี หรือ 20 ปี ก็ได้
ถ้าปัจจุบัน เรามีความคุ้มครองชีวิตทั้งหมดไม่ถึงจำนวนเงินดังกล่าว ก็แปลว่า เรายังมีประกันชีวิตไม่เพียงพอกับความเสี่ยงที่จำเป็น แม้ว่าเราอาจจะทำประกันชีวิตไว้หลายกรมธรรม์แล้วก็ตาม