ในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ดูเหมือนจะมีข่าวร้ายเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าครองชีพที่แพงแสนแพง ไหนจะค่าน้ำ ค่าไฟที่พุ่งสูงปรี๊ดอยู่ต่อเนื่อง แถมดัชนีหุ้นทั่วโลกก็ต่างปรับฐานลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งดูเหมือนว่าจะมีข่าวร้ายอยู่เต็มไปหมด จนนักลงทุนเกิดความกลัว ทำให้หลายคนไม่แน่ใจว่า เราควรกลับไปลงทุนจุดไหนกัน?
ก่อนตัดสินใจลงทุน นักลงทุนควรดูข้อมูลและสถานการณ์ก่อนว่าจะเกิดอะไรขึ้น หรืออาจใช้วิธีมองภาพรวมทางเศรษฐกิจและคาดการณ์อนาคตว่าจะส่งผลอย่างไร โดยการคาดการณ์ไปในอนาคตนั้น ข้อมูลสำคัญที่ควรพิจารณา คือ ตัวบ่งชี้หรือ ‘สัญญาณทางเศรษฐกิจ’ เพื่อที่จะวิเคราะห์และพยากรณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในอนาคตได้
6 ‘สัญญาณทางเศรษฐกิจ’ ที่นักลงทุนควรจับตามอง
1. GDP หรือ Gross Domestic Product เป็นดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ที่บอกถึงการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศในแต่ละปีว่ามีการเติบโตเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าไหร่ โดยหาก GDP เป็นบวก หมายความว่าเศรษฐกิจภาพรวมเติบโตขึ้นจากปีก่อน หาก GDP เป็นบวกแต่เป็นบวกที่น้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แสดงว่าเศรษฐกิจมีการเติบโตแต่เติบโตในระดับที่ช้าลงเรื่อย ๆ ในทางกลับกัน หาก GDP ติดลบ หมายความว่าเศรษฐกิจโดยภาพรวมมีการหดตัวจากปีก่อน บ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นหยุดชะงักหรือชะลอตัวนั่นเอง
2. อัตราการว่างงาน ตัวเลขการว่างงานในภาพรวมหากยิ่งน้อยยิ่งดี เพราะแปลว่าคนในประเทศมีงานทำ แต่ที่สำคัญกว่าตัวเลขที่มากหรือน้อย คือ การวิเคราะห์แนวโน้มการว่างงานว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง เช่น อัตราการว่างงานอยู่ที่ 1% หากเป็น 1% ไปเรื่อย ๆ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามีแนวโน้มสูงขึ้นอาจจะมีปัญหาในอนาคตได้ แต่อัตราการว่างงานที่ต่ำก็ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่จะบอกว่าเศรษฐกิจของประเทศนั้น กำลังขยายตัวไปในทิศทางที่น่าพอใจเสมอไป โดยตัวเลขอัตราการว่างงานที่ต่ำอาจตีความในอีกมุมหนึ่งได้ว่า เพราะหาแรงงานได้ยากมากขึ้น เนื่องจากโครงสร้างประชากรของประเทศกำลังวิ่งเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก็เป็นได้
3. เงินเฟ้อ เงินเฟ้อเป็นตัวเลขที่บอกว่าโดยภาพรวมแล้วสินค้าและบริการต่าง ๆ ราคาแพงขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยตัวเลขเงินเฟ้อนี้ถ้าจะให้ดีและถือว่าเป็นภาวะปกติ ไม่มีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจ ต้องเป็นเงินเฟ้อแบบอ่อน ๆ ซึ่งข้าวของอาจแพงขึ้นได้นิดหน่อย แต่ก็ไม่เกิน 5% เพราะเงินเฟ้อแบบอ่อนจะทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติได้
นอกจากนี้ หากเงินเฟ้อขยับสูงขึ้น จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) ปรับลดลง เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับจะนำไปใช้ซื้อของได้น้อยลง ซึ่งเงินเฟ้อจึงมีผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งผลตอบแทนที่อยู่ในรูปของดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ดังนั้น ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหรือชนะเงินเฟ้อ เช่น หุ้น กองทุนรวม ทองคำ หรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
4. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ผลการสำรวจความเห็นของผู้บริโภคจากแบบสอบถาม ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น มุมมองต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างไร มองว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นหรือแย่ลง หรือมุมมองต่อการบริโภค จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสามารถดูได้จากการนำผลสำรวจมาคำนวณดัชนีและเปรียบเทียบได้ ดังนี้
– ดัชนี = 50 หมายถึง ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจทรงตัวจากเดือนก่อน
– ดัชนี > 50 หมายถึง ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าเดือนก่อน และมีแนวโน้มที่จะบริโภคมากขึ้น
– ดัชนี < 50 หมายถึง ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นเชิงลบต่อเศรษฐกิจกว่าเดือนก่อน และมีแนวโน้มที่จะบริโภคน้อยลง
5. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ เป็นดัชนีที่ใช้ประเมินสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้ตัดสินใจดำเนินนโยบายทางการเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ ณ ช่วงเวลานั้นและสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจของผู้ประกอบการ ว่ามีความเชื่อมั่นเป็นอย่างไร กำลังกังวลต่อภาวะธุรกิจอยู่หรือไม่ โดยสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการจากแบบสอบถาม ไปยังกลุ่มตัวอย่างธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้ ดังนี้
– ดัชนี = 50 หมายถึง ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจทรงตัวจากเดือนก่อน
– ดัชนี > 50 หมายถึง ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจดีขึ้นกว่าเดือนก่อน
– ดัชนี < 50 หมายถึง ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจแย่ลงกว่าเดือนก่อน
6. ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ดัชนีนี้ใช้ติดตามภาวะและประเมินแนวโน้มการลงทุนของภาคเอกชน ได้แก่ พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง ปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง (ปูนซีเมนต์ คอนกรีต กระเบื้อง) การนำเข้าสินค้าทุน ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักร/อุปกรณ์ในประเทศ และปริมาณจำหน่ายยานยนต์เพื่อการลงทุน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะขยายตัวหรือหดตัวได้ดีในระดับหนึ่ง เพราะเวลาที่ผู้ผลิตขายของได้ ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อของ ทำให้สินค้าคงเหลือเหลือน้อยลง ผู้ผลิตอาจมีแนวโน้มที่จะสั่งของมาผลิตเพิ่มขึ้น เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจในทางกลับกันหากผู้ผลิตขายของไม่ได้ ผู้บริโภคไม่ซื้อหรือซื้อน้อยลง สินค้าคงเหลือมีมากขึ้น ผู้ผลิตจำนวนมากก็จะชะลอการผลิต อาจสั่งเครื่องจักร สั่งสินค้าน้อยลง ก็เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเติบโตช้าลง
สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน
– เศรษฐกิจไทย มีแนวโน้มขยายตัวได้สูงขึ้นที่ร้อยละ 2.6 และ 3.0 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ จากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้นทั้งในด้านจำนวนนักท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายต่อคน การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่องแม้จะชะลอลงจากปีก่อนที่ขยายตัวสูง และการใช้จ่ายภาครัฐที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งหลังของปี
– เศรษฐกิจโลก OECD คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2567 ขึ้นสู่ร้อยละ 3.1 จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 2.9 พร้อมกับปรับเพิ่มการคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ จีน และยูโรโซน เนื่องจากเงินเฟ้อชะลอตัวลงและอุปสงค์ฟื้นตัวขึ้น
(ขอบคุณข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2567)ดังนั้น สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนเพื่อหาโอกาสสร้างผลกำไรมากขึ้นแต่ยังไม่รู้ว่าจะลงทุนอะไรดี เราขอแนะนำ ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) การลงทุนที่ได้ทั้งการคุ้มครองชีวิต พร้อมโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน
AIA Issara Plus (Unit Linked) ประกันชีวิตควบการลงทุน
แบบประกันปรับเปลี่ยนได้อิสระ ทุกช่วงจังหวะของชีวิต โดยคุ้มครองชีวิตสูงสุดถึง 250 เท่า ของเบี้ยประกันหลัก* และยังให้อิสระในการหยุดพักชำระเบี้ยหากเกิดกรณีฉุกเฉิน โดยความคุ้มครองยังคงอยู่** หมดห่วงเรื่องความซับซ้อน ไม่มีเวลา ด้วยบริการ AIA InvestPro ที่ช่วยดูแลครบวงจร มือใหม่ก็เริ่มลงทุนได้ง่าย ๆ รวมถึงดูแลสุขภาพอย่างมั่นใจ ด้วยสัญญาเพิ่มเติมที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก โรคร้ายแรง หรือค่าชดเชยรายวัน
สนใจทำประกัน AIA Issara Plus (Unit Linked) กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
*จำนวนเงินเอาประกันภัยได้สูงสุดถึง 250 เท่า ของเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครอง ขึ้นอยู่กับเพศและอายุ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
** สามารถหยุดพักชำระเบี้ยได้ เมื่อชำระเบี้ยประกันภัยหลัก (RPP) ตามเงื่อนไขที่กำหนดในกรมธรรม์ และมีอายุกรมธรรม์ครบ 3 ปี
หมายเหตุ
• ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาและทำความเข้าใจในเอกสารเสนอขายก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้ว โปรดศึกษารายละเอียด ข้อกำหนดและเงื่อนไขในกรมธรรม์
• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
• การตรวจสุขภาพและการพิจารณารับประกันภัยให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
• การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะผลิตภัณฑ์ เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองทุนรวมภายใต้กรมธรรม์เอไอเอ ยูนิต ลิงค์ (aia.co.th)
• ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ขอบคุณข้อมูล ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย