“นอนเร็ว-ตื่นเช้า” กับ “นอนดึก-ตื่นสาย” เหมือนกันรึเปล่า?

“นอนเร็ว-ตื่นเช้า” กับ “นอนดึก-ตื่นสาย” เหมือนกันรึเปล่า? 

การนอนหลับพักผ่อนช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เป็นประโยคที่หลายคนอาจคุ้นหู แต่อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่สามารถนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอได้ ยิ่งคนรุ่นใหม่ที่ไหนจะต้องทำงาน ไหนจะออกไปปาร์ตี้ บางคนก็เล่นเกม ดูหนัง ดูซีรีส์ อัปเดตโซเชียลมีเดีย รู้ตัวอีกทีเวลาก็ล่วงเลยมาถึงตี 2 ตี 3 ซะแล้ว 

ใครที่คิดว่าเดี๋ยวค่อยไปนอนชดเชยเอาก็ได้ บอกเลยว่าเป็นความคิดที่ผิด 

รู้หรือไม่…การนอนดึกตื่นสายไม่สามารถชดเชยเวลาที่เสียไปได้ แม้จะรู้สึกว่าได้นอนเต็มอิ่มแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริงก็สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน เพราะการนอนดึกจะส่งผลให้ “นาฬิกาชีวภาพ” ในร่างกายรวนได้

“นาฬิกาชีวภาพ” (Biological Clock) คือ วงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ ที่มีหน้าที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของร่างกายโดยต่อมไพเนียล (Pineal Gland) ในสมอง เพื่อให้ร่างกาย ตื่น หลับ ขับถ่าย และทานอาหาร ตามเวลาที่เหมาะสมตามการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งจะสัมพันธ์กับเวลากลางวันและกลางคืนตามแสงอาทิตย์ในธรรมชาติ

โดยหลักการทำงานของนาฬิกาชีวภาพในร่างกายตอนกลางคืน มีดังนี้

19.00 – 21.00 น. : เวลาของการเตรียมตัวเข้านอน

เป็นช่วงเวลาที่ไม่ควรทำงานหนัก ควรทำจิตใจให้สงบ มีสมาธิ หรือหากิจกรรมเบา ๆ ทำ ให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย และให้เยื่อหุ้มหัวใจได้พักผ่อน 

21.00 – 23.00 น. : ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเข้านอน

ในช่วงเวลานี้จะเป็นเวลาที่ระบบภูมิต้านทานโรคจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย จึงถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการนอนหลับพักผ่อน และควรทำร่างกายให้อบอุ่น ไม่ร้อนไม่หนาวเกินไปด้วย

23.00 – 01.00 น. : เวลาของถุงน้ำดี 

เป็นช่วงเวลาที่ถุงน้ำดี ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ย่อยไขมัน กำลังทำงาน หากไม่อยากให้ถุงน้ำดีทำงานหนักเกินไป ควรจิบน้ำก่อนนอนเพื่อให้ร่างกายมีน้ำหล่อเลี้ยง และเป็นการเจือจางไม่ให้น้ำดีข้นจนเกินไป

01.00 – 03.00 น. : ช่วงเวลาขจัดสารพิษ 

เป็นช่วงเวลาที่ตับกำลังขจัดสารพิษในร่างกาย ทำลายเม็ดเลือดที่เสื่อมสภาพ และสร้างน้ำดีไว้ที่ถุงน้ำดีเพื่อช่วยย่อยไขมัน โดยในช่วงเวลานี้ ร่างกายจะมีการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) สารเมลาโทนิน (Melatonin) และสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ออกมาด้วย 

03.00 – 05.00 น. : เวลาของปอด

ช่วงเวลานี้จะเป็นเวลาที่ปอดทำงานเต็มที่ เหมาะกับการตื่นนอนมาสูดอากาศบริสุทธิ์ รับแสงยามเช้า หรือออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนได้มากขึ้น 

05.00 – 07.00 น. : ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่

ลำไส้ใหญ่จะบีบตัวสูงเพื่อกำจัดอาหารและของเสียในช่วงเวลานี้ จึงเป็นเวลาที่เหมาะกับการขับถ่ายมากที่สุด หากเลยเวลานี้ไปอาจทำให้อุจจาระบางส่วนตกค้างในลำไส้ และดูดซึมสารพิษกลับเข้าร่างกาย ส่งผลให้ผิวพรรณไม่ผ่องใส

07.00 – 09.00 น. : เวลาของอาหารเช้า

กระเพาะอาหารจะหลั่งน้ำย่อยออกมามากที่สุดในช่วงเวลานี้ จึงควรรับประทานอาหารเช้า เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานเต็มที่ หากไม่ทานอาหารกระเพาะอาหารจะถูกกรดย่อยผนังจนอ่อนแอลงได้

ดังนั้นใครที่ใช้ชีวิตสวนทางกับนาฬิกาชีวภาพ เพราะคิดว่าพรุ่งนี้วันหยุด กะจะนอนดึก ๆ แล้วไปตื่นเอาตอนเที่ยง รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมแบบนี้สามารถบั่นทอนสุขภาพได้มากกว่าที่คุณคิด การ “นอนดึก-ตื่นสาย” ไม่ได้ช่วยทดแทนเวลานอนที่เสียไปได้ แถมยังมีโอกาสพาเอาโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมาให้คุณด้วย ไม่ว่าจะเป็น

1. โรคอ้วน

คนนอนดึกมักจะเสี่ยงต่อการทานอาหารมื้อหลัง 2 ทุ่ม ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับพลังงานส่วนเกิน และเสี่ยงต่อภาวะไขมันสะสมจนอ้วนขึ้นได้นั่นเอง  

2. ระบบย่อยอาหารผิดปกติ

การนอนดึกจะทำให้ถุงน้ำดีทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะถุงน้ำดีต้องส่งน้ำย่อยไปลำไส้เล็กเพื่อช่วยย่อยอาหาร และเปิดโอกาสให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น หากถุงน้ำดีทำงานบกพร่อง การจัดส่งน้ำดีเพื่อช่วยย่อยอาหารก็จะขาดสมดุลไปด้วย

3. ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลง

อวัยวะในร่างกายมีเวลาทำงานและเวลาพักผ่อน โดยเฉพาะตับกับไตที่ต้องการเวลาพักผ่อนตามเวลานอนหลับปกติของมนุษย์ เพราะไม่อย่างนั้นระบบการคัดกรองของเสียในร่างกายอาจขาดสมดุลได้ และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันด้อยประสิทธิภาพลง

4. เสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ

การนอนและตื่นที่ผิดไปจากเวลานาฬิกาของร่างกาย จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะการนอนดึก-ตื่นสายไม่ใช่การนอนหลับพักผ่อนที่มีคุณภาพ หากร่างกายเคยตื่นเวลาไหน ก็มักจะสะดุ้งตื่นเวลาเดิม ทำให้หลับไม่สนิท 

5. ส่งผลร้ายกับความสวยงาม

อย่างที่บอกว่าการนอนดึก-ตื่นสายทำให้นาฬิกาชีวภาพรวน และทำงานไม่ปกติ ซึ่งมีผลต่อการย่อยอาหารและการขับถ่าย จึงทำให้ผิวพรรณหมองคล้ำ ดูไม่สดใสเปล่งปลั่ง

มาถึงตรงนี้คงพอเข้าใจแล้วว่าการนอนดึก-ตื่นสายส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ดังนั้นอย่าลืมหันกลับมาปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตของตัวเองให้เหมาะกับนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย เพื่อร่างกายที่แข็งแรง และสุขภาพที่ดีในระยะยาว

เอไอเอ ขอสนับสนุนให้คนไทยเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลา เพื่อที่จะได้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง ส่วนปัญหาอื่น ๆ ให้ AIA Health Happy ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายคอยดูแล ด้วยความคุ้มครองสูงสุด 25 ล้านบาท ต่อรอบปีกรมธรรม์ และให้ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่า¹ กรณีป่วยเป็นโรคร้ายแรง²

มีประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายไว้ ให้คุณได้รับการรักษาที่ดีและรวดเร็วที่สุด แบบไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล

สนใจทำประกันกับเอไอเอ กดติดต่อกลับ และกรอกแบบฟอร์ม เพื่อให้ตัวแทนประกันชีวิตของเรา แนะนำรูปแบบประกันที่เหมาะสมกับคุณที่สุด

ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในปีกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง ตามคำนิยามที่กำหนดในบันทึกสลักหลัง

โรคร้ายแรง หมายถึง โรคร้ายแรงตามคำนิยามของโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้บันทึกสลักหลัง ผลประโยชน์ความคุ้มครองกรณีโรคร้ายแรง มีดังนี้ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack), โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke), การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-Pass Surgery), โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer), การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก (Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation), และการผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า (Surgery to Aorta)

ขอบคุณข้อมูลจาก 

– กรมสุขภาพจิต

– สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ให้เราได้ดูแลคุณ

สำนักงานตัวแทนประกันชีวิต คุณเนตรทิพย์ อัครมโนไพศาล